สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเอนไซม์

Bookmark and Share


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเอนไซม์ คือ |



  • สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสร้างเอนไซม์ขึ้นมาใช้เองด้วยความสามารถในการผลิตที่แตกต่างกัน
  • เอนไซม์เป็นตัวเร่งในการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ ถ้าย่อยได้ไม่ดี ถึงกินอาหารแสนดีก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
  • เอนไซม์ควบคุมและเร่งปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด ถ้าไม่มีเอนไซม์ปฏิกิริยาเคมี จะเกิดช้าจนชีวิตไม่สามารถรอได้
  • เอนไซม์แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะตัวและทำปฏิกิริยาเคมีจำเพาะกับสารตั้งต้นที่ถูกกำหนดเท่านั้น เอนไซม์ชนิดย่อยแป้งจะไม่ย่อยโปรตีน เอนไซม์ชนิดย่อยไขมันจะไม่ย่อยแป้ง
  • การขาดเอนไซม์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไม่รักษาสุขภาพของตนเอง บางกรณีเกิดจากปัญหากรรมพันธุ์
  • เอนไซม์ที่มีระดับต่ำ ในร่างกายสัมพันธ์กับโรคของความเสื่อมต่างๆ (ถ้าเอนไซม์ต่ำมาก โรคแห่งความเสื่อมก็เกิดขึ้นมากตาม)

เหตุผลที่กินเอนไซม์เสริม | ในระยะแรก วิตามิน และเกลือแร่ เพียง 2 อย่างที่มีการมุ่งให้เป็นอาหารเสริม ใน ค.ศ. 1930 (พ.ศ.2473), Dr.Wolfe ชาวเยอรมันได้ค้นพบประโยชน์และวิธีการใช้เอนไซม์ที่มาจากสัตว์ (Animal Enzyme) และในเวลาไล่เลี่ยกัน Dr. Howell ชาวอเมริกันได้ศึกษาประโยชน์ของเอนไซม์จากพืช ผลการศึกษาและวิจัยของท่านทั้งสอง ปูทางไปสู่การใช้เอนไซม์มาเป็นอาหารเสริมในปัจจุบัน


สภาพเมื่อขาดเอนไซม์ | อาการที่ท่านรู้สึกด้วยตัวเอง (Symptom)ว่าท่านน่าจะขาดเอนไซม์ คือ รู้สึกเหนื่อยหลังจากกินอาหารมื้อหนัก,อ่อนเพลียเป็นประจำ, ท้องผูก ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บางครั้งมีอาการจุกเสียด, ลมแน่นท้อง ผายลมมีกลิ่นเหม็น , อุจจาระจมน้ำ และอุจจาระเหม็นมาก, มีกลิ่นปาก, มีอาการของโรคภูมิแพ้ง่าย บางครั้งถึงขนาดหอบหืด, เวลาเป็นแผลจะหายช้า, น้ำหนักตัวเพิ่มง่าย, อาการที่แพทย์ตรวจพบ (Sign)ว่าท่านกำลังขาดเอนไซม์ คือ ตับอ่อนบวม, เม็ดโลหิตขาวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติหลังกินอาหาร 30 นาที, น้ำลายมีฤทธิ์เป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7), ในปัสสาวะมีสารพิษมาก เกิดจากอาหารไม่ย่อยจึงบูดในลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะดูดซึมพร้อมกับน้ำเข้าไปในกระแสเลือด ตับและไตจะกรองสารพิษเอาไว้ และจะขับสารพิษนี้ทิ้งออกทางปัสสาวะ, ระดับเอนไซม์ต่ำกว่าปกติในเลือด, ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย


บุคคลที่ควรกิน เอนไซม์ | ได้แก่

  • ผู้ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • ผู้ที่มีภูมิต้านทานอ่อน และมักติดเชื้อง่าย เช่น วัณโรค, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยก่อน และหลังผ่าตัด
  • สตรีก่อน และ หลังคลอด
  • ผู้มีประสิทธิภาพตับไม่ดี เหนื่อยง่าย เช่น ตับอักเสบ
  • ผู้มีประสาทอ่อนไม่ปกติ ตกใจง่าย เบื่ออาหาร
  • ผู้มีกระเพาะลำไส้ ไม่ดีแต่กำเนิด ผอมแห้ง แรงน้อย
  • ผู้ที่ทำงานของประสาทไม่เต็มที่ มักสลืมสลือ กระปรกกระเปลี้ย
  • ผู้มีร่างกายแก้ก่อนวัย เจ็บป่วยง่าย
  • ผู้มีอาการติดเชื้อแปลกๆ เจ็บออดๆแอดๆ
  • ผู้มีภาวะเสื่ยงต่อโรคกรรมพันธ์ เช่น เบาหวาน, มะเร็ง, ปัญญาอ่อน, thalassemia เป็นต้น

ธรรมชาติไม่ได้ให้เอนไซม์จนฟุ่มเฟือย | เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นในร่างกายแต่ละคนมีจำนวนจำกัด ต้องช่วยตัวเองประหยัดเอนไซม์ให้มีใช้นานที่สุด ถ้าต้องการมีอายุยาวและสุขภาพดีเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดคือเมตาบอลิค เอนไซม์ ใช้ซ่อมแซมและสร้างเซลล์ ต้านทานโรค ป้องกันความเสื่อมโทรมแต่กฎธรรมชาติให้ไว้ว่า ถ้าเอนไซม์ใช้ย่อยอาหารไม่เพียงพอร่างกายต้องดึงเมตาบอลิค เอนไซม์ ในเซลล์ต่างๆมาทำงานที่ต่ำชั้นกว่าคือย่อยอาหาร ทำให้“เมตาบอลิค เอนไซม์”หมดเปลืองพลังของชีวิต (Life Force) จึงบกพร่องและไม่เพียงพอ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยง่ายถ้าใช้อย่างเดียวหรือใช้ฟุ่มเฟือย เงินในธนาคารก็หมดเร็ว



Dr. Edward Howell ผู้บุกเบิกเรื่องเอนไซม์ รายงานว่า คนทั่วไปเบิกเอนไซม์จาก“ธนาคารเอนไซม์”(Enzyme Bank)ของตนมาใช้ และไม่ค่อยหาฝากคืนอีก ไม่เหมือนเบิกเงินจากธนาคาร เรามักหามาฝากคืน เงินไม่หมดไป เป็นการกระทำที่ฉลาด ถ้าพยายามกักตุนเอนไซม์ที่เราผลิตเองในร่างกายเอาไว้ และหาเอนไซม์จากภายนอกมาใช้แทน การหมดเปลืองจากธนาคารเอนไซม์ก็จะเกิดช้าลง

เอนไซม์คือสมบัติที่มีค่าของชีวิต มีจำกัดใช้อย่างประหยัดการใช้เอนไซม์เสริมช่วยย่อยอาหารเป็นสิ่งจำเป็นเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อประหยัดเมตาบอลิค เอนไซม์ได้ถ้าใช้เอนไซม์ในธนาคารเอนไซม์ (Enzyme Bank) อย่างฟุ่มเฟือย ก็ร่อยหรอตั้งแต่ยังหนุ่มสาวแต่ถ้าประหยัดใช้ หาจากแหล่งภายนอกมาใช้แทนเช่น กินเอนไซม์เสริมและกินอาหารสด จะมีเอนไซม์ในธนาคารพอใช้เมื่อแก่ตัวลง ความชราและโรคแห่งความเสื่อม (Degenerative Disease)ทั้งหลายก็ไม่มากล้ำกลาย


ตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ | ได้แก่

  • การกินไข่ขาวดิบๆ จะมีสารชื่อ อไวดิน (Avidin) เป็นตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme inhibitor) โดยจะเข้าไปเบียดและแซงโคเอนไซม์ (Coenzyme) ซึ่งเป็นวิตามินบี (ไบโอติน – Biotin) ทำให้ไม่สามารถจับกับเอนไซม์คู่ของมันได้ตามปกติ ผลก็คือ เกิดขาดวิตามินบีได้ ไข่ขาวดิบๆ จึงไม่ควรกินเป็นประจำ การลวกไข่จะทำให้อไวดินถูกทำลายด้วยความร้อนจึงปลอดภัยในการบริโภค
  • การทำงานหนัก การออกกำลังกายมากเกินไป
  • การออกกำลังกายระบบการเผาผลาญอาหารต้องทำงานเพิ่มขึ้น ถ้าแข่งกีฬาซึ่งต้องเอาแพ้เอาชนะกัน ยิ่งต้องใช้พลังงานสูงมาก ย่อมหมดเปลืองเอนไซม์
  • การออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬา หรือทำงานหนัก ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เป็นการเร่งเอนไซม์ให้ทำปฏิกิริยาเคมี เกิดความหมดเปลื้องสูง การผลิตเอนไซม์จึงเพิ่มขึ้นกระทบไปหมด ทั้งตามอวัยวะต่างๆ ทั้งตามกล้ามเนื้อ ทำให้เอนไซม์ที่เคยสะสมไว้ใช้ขาดแคลน (Inadequate) เรื้อรัง จนต้องหามาเสริม(Supplement) จากภายนอกเท่านั้นจึงจะเกิดสมดุล


อนึ่ง นักกีฬามักบาดเจ็บเสมอในการแข่งกีฬาทำให้ร่างกายมีการใช้เอนไซม์เพิ่มขึ้นไปอีก โค้ช (Coach) ชาวต่างประเทศรุ่นใหม่ส่วนใหญ่รู้เรื่องเอนไซม์ดีมาก เพราะจะต้องผ่านการอบรมเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งสอนหนักเรื่องโภชนาการเรื่องน้ำดื่ม และเอนไซม์รวมอยู่ด้วย ถ้าท่านเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ควรจะตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ มิฉะนั้นนักกีฬาจะหมดสภาพความเป็นนักกีฬาเร็วขึ้นทั้งๆ ที่ ยังอายุน้อย ถ้าเป็นแชมป์ก็เสียแชมป์เร็วขึ้น


โลกมนุษย์ในยุคสารเคมีใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย หลังจาก ค.ศ.1930 เป็นต้นมา ได้มีการใช้สารเคมีเพื่อการอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางการเกษตรกรรม และเร่งผลผลิต เพิ่มมาก ทั้งพืชและสัตว์จึงได้รับสารเคมีต่างๆ เข้ามาสะสมในตัวตั้งแต่ลืมตาดูโลก มนุษย์ได้สารเคมีปนเปื้อนผ่านมาทางวงจรอาหาร ทำให้เอนไซม์ในอาหารและในตัวคนเสื่อมคุณภาพ เกิดการขาดแคลนเอนไซม์ขึ้น พวกเราทุกคนกำลังอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยมลพิษ (Polluted World) เอนไซม์ในร่างกายจึงขาดแคลน ปัญหาจะมีมากถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ซึ่งสมองกำลังพัฒนา มนุษย์สมัยใหม่มีรสนิยมในการกินของที่ผ่านการหุงต้ม (Cooked Food) มากกว่าอาหารดิบ (Raw Food) คนส่วนใหญ่พอใจที่จะกินอาหารที่ปรุงแต่ง อาหารที่อาบรังสี อาหารที่ใช้วิธีปิ้ง ย่าง มากกว่าอาหารดิบ เพราะชอบในความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์


การที่เราปิ้งหรือย่างเนื้อสัตว์ทำให้เราสูญเสียเอนไซม์ในอาหาร และยิ่งถ้ามีอายุมากขึ้นเอนไซม์ในตัวเราก็ลดต่ำลง การย่อยโปรตีนจึงมีอุปสรรค ไม่ได้สารอาหารกรดอะมิโน (Amino Acid) ร่างกายจะขาดกรดอะมิโน ซึ่งจะนำมาใช้ในการผลิตเอนไซม์ของร่างกาย ดังนั้นผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป การใช้เอนไซม์เสริมจึงจะสร้างความมั่นใจว่าจะไม่ขาดเอนไซม์
Free counter and web stats